วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ปกิณกะ

อโศกอินเดีย หรือ อโศกเซนต์คาเบรียล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Polyalthia longifolia) เป็นไม้ยืนต้นสูง ในวงศ์ Annonaceae มีลักษณะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปปิรามิดแคบ ๆ สูงเต็มที่ได้ถึง 25 เมตร กิ่งโน้มลู่ลงทั้งต้น ทำให้แลดูต้นสูงชลูดมาก เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทาเข้ม หรือเทาปนน้ำตาล ใบเดี่ยวรูปใบหอกแคบ ๆ ปลายแหลมยาว 15 - 20 เซนติเมตร สีเขียวเป็นมันเงางาม ขอบใบเป็นคลื่น
ออกดอกในระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน จะออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นกระจุกตามข้างๆ กิ่ง แต่ละดอกเป็นรูปดาว 6 แฉก กลีบดอกเป็นคลื่นน้อย ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร ดอกบานอยู่นาน 3 สัปดาห์
ผลรูปไข่ ยาว 2 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีดำ เป็นไม้ต้นทรงสูงชะลูด สามารถสูงได้เกินกว่า 30 ฟุต เป็นแท่งกลมปลายแหลม ทรงพุ่มแผ่นทึบ ใบรูปหอก แนว ยาวสีเขียวเข้ม ขอบใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อสี  อ่านเพิ่มเติม

เรื่องย่อนิทานเวตาล

เรื่องย่อ

ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพ อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เนื้อเรื่อง

เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
           ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ท อ่านเพิ่มเติม

คำศัพท์และคำอธิบาย

      คำศัพท์และคำอธิบาย
พิศาลภพ
โลกอันกว้างขวาง
เลอหล้า
เหนือโลก บนโลก สูงเด่นในโลก
แผ่นผ้าง
แผ่นพื้น
รพิพรรณ
แสงอาทิตย์
ขุญหาญ
ขุนพล แม่ทัพ
ห้าว
กล้า
ไตรรัตน์
แก้วสามดวง
แก่นหล้า
เป็นแก่นโลก หลักโลก
เยียวว่า
ถ้าว่า แม้ว่า
เลื่อน
พาไป
ชาย
พัด
จักรี
ผู้มีจักร

บทวิเคราะห์

บทวิเคราะห์

ความดีเด่นด้านกลวิธีการแต่ง
1 การใช้สำนวนโวหาร
     นิทานเวตาล ฉบับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  มีการใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบที่ไพเราะและทำให้เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น
2 การใช้กวีโวหาร

      พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงแปลนิทานเวตาลด้วยภาษาที่กระชับ อ่านเพิ่มเติม




คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
1 ความอดทนอดกลั้น
           ความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้นเมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่องที่ 10 เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา จะหามนุษย์เสมอมิได้
2 ความเพียรพยายาม         
            เวตาลมักยั่วยุให้พร อ่านเพิ่มเติม




คุณค่าด้านความรู้

คุณค่าด้านความรู้


          การอ่านนิทานเวตาลทำให้ได้รู้ถึงวัฒธรรมและค่านิยมของชาวอินเดียในยุคโบราณ เช่น ค่านิยมที่ชายจะมีภรรยาได้หลายคนโดยเฉพาะชายสูงศักดิ์ เพราะถือส่าเรือนที่อบอุ่นจะต้องมีแม่เรือ อ่านเพิ่มเติม

ลักษณะคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์

           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า “สำนวน น.ม



พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือนามปากกว่า น.ม.ส. (10 มกราคม พ.ศ. 2419 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี" สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนม อ่านเพิ่มเติม



นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
ความเป็นมา
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภ อ่านเพิ่มเติม